วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

สมองดี




สมองดี 
เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
เพราะสมองมีบทบาทสำคัญ
ต่อการทำงานของอวัยวะหรือระบบอื่น ๆ ด้วย
เช่น ระบบประสาท การเคลื่อนไหวของแขน ขา 
ไปจนถึงการเดิน การทรงตัว และความจำ

เคล๊ดลับสมองดี
เสริมสร้างพัฒนาการบำรุงสมอง ทำให้เรียนเก่งขึ้น


บำรุงสมอง เพิ่มความจำ
เพิ่มสมาธิ
สมองดี...ทำได้อย่างไร

          ปัจจุบันเนื่องจากพฤติกรรมการกิน ของคนไทยทำให้โรคเกี่ยวกับสมองมีความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมองเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งการมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังเช่นหลาย ๆ ประเทศที่กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุยิ่งเราอายุมากขึ้นยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคระบบประสาทมากเช่นกัน

โดยจากสถิติพบว่า
         ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ
ซึ่งอยู่ในกลุ่มโรคระบบประสาทเฉลี่ย 4 นาทีต่อคน
หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองตีบนี้เป็นสาเหตุอันดับ 2 
ของโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรองจากโรคมะเร็ง
และเด็กไทยปัจจุบันติดสื่อโซเชียวเป็นจำนวนมาก

มีผลทำให้สมาธิไม่มี
การเรียนก็ไม่ดี งานที่โรงเรียนไม่ส่ง
ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ผู้ปกครอง
รวมทั้งคุณครูที่โรงเรียน
ซึ่งปล่อยไว้แบบนี้จะส่งผลถึงการเรียนต่อๆไป
ในอนาคตก็จะเป็นปัญหาต่อครอบครัวและสังคม


         ข้อมูลในเวปไซด์นี้ ขอเป็นที่รวบรวมข้อมูลสาระที่เป็นประโยชน์ต่อคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทั่วไปโดยทางเราจะอัปเดตข้อมูลเรื่อยๆค่ะ     ไว้เป็นแนวคิดว่าจะมีวิธิใดช่วยให้น้องๆหนูๆเรียนดีขึ้นและจะทำอย่างไรที่จะช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำได้และเป็นวิธีที่ดีปลอดภัย!!



        
 จะทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาสมอง
ห้คงประสิทธิภาพ
อยู่กับเราไปได้นานที่สุด

สมาธิและความอดทน
ทักษะที่เป็นรากฐานของการเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ที่ดี

สมาธิไม่มี ? …จะเรียนดีได้อย่างไร ?
จำเป็นต้อง!!

บำรุงสมองเพิ่มสมาธิ

           ยิ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนยุคใหม่มากเท่าไหร่ การฝึกสมาธิ และความอดทนให้เด็กยิ่งเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะหากปล่อยให้เจ้าตัวน้อยคุ้นชินกับความสะดวกสบายรวดเร็วจนพวกเขาไม่รู้จักคำว่าอดทนล่ะก็ อาจทำให้พวกเขา
มีปัญหาในด้านการเรียนรู้ นิสัยใจคอ รวมถึงการชีวิตร่วมกับผู้อื่นในอนาคต เมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ด้วยนะคะ
         ซึ่งในวันนี้ จึงอยากแนะนำกิจกรรม ฝึกสมาธิ และช่วยสอนเรื่องความอดทนให้แก่ลูกนั่นก็คือ การต่อจิ๊กซอว์ค่ะ

       
ภาพต่อจิ๊กซอว์

จิ๊กซอว์ ของเล่นมากประโยชน์ ฝึกสมาธิ สอนเด็กให้รู้จักความอดทนและมีสติ
           จิ๊กซอว์ หรือ ตัวต่อกระดาษ นั้น เป็นของเล่นที่ผู้ใหญ่หลายคนชื่นชอบ จนการต่อจิ๊กซอว์อาจเป็นงานอดิเรกของใครหลาย ๆ คนอยู่แล้ว แต่คุณพ่อคุณแม่อาจยังไม่รู้ว่า สำหรับเด็ก จิ๊กซอว์นั้นถือเป็นของเล่นชั้นเลิศที่มีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • ฝึกสมาธิ จิตใจจดจ่อ เพราะการจะต่อจิ๊กซอว์หรือตัวต่อกระดาษให้สำเร็จนั้น เด็กต้องใช้เวลาและสมาธิเป็นอย่างสูง จิตใจต้องไม่วอกแวก
  • ฝึกความอดทนอดกลั้น แน่นอนว่าก่อนจิ๊กซอว์จะออกมาเป็นรูปร่าง เจ้าตัวน้อยต้องเจอกับความสับสน เพราะตัวต่อแต่ละชิ้นกระจัดกระจายกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะทำให้ลูกน้อยฝึกความอดทน และช่วยเสริมให้เขาเป็นคนใจเย็นค่ะ
  • ฝึกความคิดเชื่อมโยงและความช่างสังเกต เพราะการต่อจิ๊กซอว์ เด็กจะต้องมองให้ออกว่า ตัวต่อชิ้นนี้ควรไปต่อกับชิ้นไหน จึงจะได้ภาพที่ต้องการ
  • พัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล เพราะเขาจะได้ลองผิดลองถูก จากการต่อตัวต่อและพวกเขาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำเร็จ เมื่อได้ตั้งใจทำสิ่งๆหนึ่งอย่างมุ่งมั่นอีกด้วย            

แก้สมาธิสั้น

เทคนิค เพิ่มพลังสมองให้สตรองกว่าเดิม
เพิ่มพลังสมองให้กับตัวคุณด้วยวิธีง่ายๆ 5 ขั้นตอน

       สมองนั้นเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางและเป็นเหมือนศูนย์ควบคุมร่างกายของคุณแบ่งเป็นสามส่วนหลักๆ คือสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebrum หรือ สมองใหญ่) ซีรีเบลลัม (Cerebellum หรือ สมองน้อย) และก้านสมอง



      สมองนั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ เรียกว่า นิวรอน (Neuron) ซึ่งควบคุมการทำงานสำคัญ ต่างๆ ของร่างกาย และยังเป็นอวัยวะที่ช่วยให้เราสามารถคิด จดจำ เรียนรู้ และรู้สึกได้ตลอดชั่วชีวิตของคุณ มีหลายปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงานของสมองได้ลงมือปฏิบัติ


1. ซื้อของให้กับสมองของคุณ
     ลองลิสต์รายการซื้อ “อาหารสมอง” ของคุณที่ประกอบด้วยผักผลไม้เยอะๆ อาหารที่มีโปรตีน น้ำตาลน้อย มีคาร์โบไฮเดรต ถั่ว เมล็ดพืช และปลา

และที่สำคัญให้ลองรับประทานสิ่งที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน!



2. ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว
การออกกำลังกายนั้นเป็นประโยชน์ไม่ใช่แค่ต่อร่างกายเท่านั้นแต่สมองด้วย

การออกกำลังกายจะช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิตรวมถึงระบบไหลเวียนโลหิตไป

ยังส่วนหัวด้วย ยิ่งเลือดไหลเวียนดีมากก็ช่วยให้สารอาหารไปถึงสมองมากขึ้นด้วย

ลองเล่นโยคะ ไปวิ่งกับเพื่อน หรือไปเดินเล่นแถวบ้านทุกๆ วันเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ 

3. บริหารสมอง
การบริหารสมองนั้นว่ากันว่าจะช่วยสร้างเซลล์สมองที่แข็งแรงสำรองไว้และทำให้มีเซลล์เหล่านั้นเชื่อมต่อถึงกันด้วย
หัดบริหารสมองด้วยการอ่านหนังสือเล่มใหม่ๆ เรียนรู้ภาษาต่างประเทศหรือลองเล่นครอสเวิรด์ คำภาษาอังกฤษ


เกมสำหรับบริหารสมอง: ท้าทายสมองของคุณผ่านทางออนไลน์ต่างๆที่น่าสนใจ



4. ผ่อนคลายความเครียด

ความเครียดในระยะยาวจะทำให้สมองอ่อนแอต่อฮอร์โมนความเครียดและอาจมีผลต่อโครงสร้างของสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำและความคิด

ลดความเครียดของคุณลงและทำสมาธิเป็นเวลา 5 นาทีเมื่อตื่นนอนตอนเช้าและตอนค่ำก่อนเข้านอน



5. บำรุงรักษาสมอง
มีอาหารเสริมมากมายที่สามารถช่วยบำรุงรักษาสมองของคุณได้ เช่น น้ำมันปลา วิตามินบี พืชพรมมิ และโปรตีน แต่จะเลือกอันไหนดีล่ะ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญดู คุณสามารถปรึกษานักธรรมชาติบำบัดของ ศูนย์สุขภาพดี บำรุงสมอง ได้แล้ววันนี้ว่า จะบำรุงสมองของคุณอย่างไรและอาหารเสริมไหนเหมาะกับคุณบ้าง


เมื่อรู้วิธิแก้สมาธิสั้นแล้ว


เริ่มกันเลยตั้งแต่วันนี้นะคะ

" ไม่มีคำว่าสาย "




สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

การขาดสมาธิ (attention deficit)


https://adha-treatments.blogspot.com/
                

        อาการเด็กสมาธิสั้น

       โดยสังเกตพบว่าเด็กจะมีลักษณะดังนี้


  • ไม่ค่อยเป็นระเบียบ
  • วอกแวกง่าย
  • ขี้ลืมบ่อย ๆ
  • ชอบพูดแทรก
  • รอคอยไม่เป็น
  • เงียบขี้อาย ไม่พูด
  • อารมณ์รุนแรง
  • ความจำไม่ดี
  • ติดมือถือ ติดเกมส์
  • ไม่ชอบไปโรงเรียน
  • ไม่เชื่อฟังคำสั่ง
  • พูดจา  ติดๆขัดๆ
  • ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น
  • ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย
  • ไม่สามารถทำงานที่ครู หรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ
  • มีปัญหาหรือพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ
  • ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นสำหรับงานหรือการเรียนหายอยู่บ่อย ๆ
  • ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อย


                         ความผิดปกติของระบบประสาททำให้สมองถูกจำกัดความสามารถในการเรียนรู้การทำความ
               เข้าใจหรือจดจำ
               มีความบกพร่องด้านการอ่าน อ่านไม่ออก อ่านข้าม อ่านผิด
              มีความบกพร่องด้านการเขียน เขียนไม่ได้พยัญชนะสระวรรณยุกต์สลับกัน
              คำนวณ ไม่ข้อง ไม่เข้าใจค่าตัวเลข
              ไม่เข้าใจเครื่องหมายคณิศาสตร์  ไม่เข้าใจแก้โจทย์ปัญหา

เด็กแอลดี

            เด็กLD หมายถึงเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบประสาทชนิดถาวร ทำให้สมองถูกจำกัดความสามารถในการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ หรือการจดจำ และอาจพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ถึงร้อยละ 40-50 เช่น พ่อแม่อาจสังเกตสัญญาณของความผิดปกติจากการที่เด็กไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้นาน มีปัญหาในการพูด การอ่าน การเขียน การคำนวณ ส่งผลให้อาจมีทักษะในการเรียนรู้ด้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ ความเอาใจใส่ของคนใกล้ชิดและการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้ผู้ป่วยเด็ก LD พัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้เหมือนเด็กปกติ จึงควรหมั่นเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ
   



      เด็กติดมือถือ 

                 ปัญหาเด็กติดสมาร์ทโฟน ควรต้องรีบดำเนินการแก้ไข เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็กแต่ยังมีผลกระทบในเชิงลบ พัฒนาการทางร่งกายและจิตใจของเด็กอีกด้วยค่ะ
                 ถึงแม้การใช้เทคโนโลยีจะเข้ามีบทบาทสำคัญก็ตาม แต่ก็ควรจะเลือกใช้งานให้พอดี เช่น ใช้งานเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือเสริมพัฒนาการของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง เพราะหากปล่อยให้ลูกเสพติดเทคโนโลยีมากเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลตามมาดังกล่าวได้
  


    มารู้จักโรคสมาธิสั้น  

   โรคสมาธิสั้น

  ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder

             คือ โรคขาดสมาธิ มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง ไม่ชอบอยู่กับที่ เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบในการจดจ่อตั้งใจทำสิ่งใดให้สำเร็จ ขี้ลืม ไม่ใส่ใจคำสั่ง ไม่อดทน หุนหันพลันแล่น โดยผู้ป่วยอาจเริ่มมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุ 3-6 ปี โดยอาการจะแสดงออกอย่างชัดเจนและ       วินิจฉัยได้ในช่วงอายุ 6-12 ปี   เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้องเริ่มเข้าโรงเรียน มีงานและการบ้านต้องรับผิดชอบหลาย ๆ ชิ้นในเวลาเดียวกัน ต้องทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เริ่มสื่อสารและเข้าสังคม
อาการสมาธิสั้นที่พบบ่อย

อาการสมาธิสั้น 
           อาการของผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจยังคงอยู่ตลอดจนเข้าสู่วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่   โดยรูปแบบอาการอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยตามวัย และตามการรักษาดูแลที่ผู้ป่วยได้รับ หรืออาจยังมีบางอาการที่ยังคงอยู่และกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน

                    การแสดงพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นมี 2 รูปแบบหลัก คือ การขาดสมาธิในการจดจ่อหรือตั้งใจทำสิ่งใด และการอยู่ไม่นิ่งและมีความหุนหันพลันแล่น โดยเด็กอาจมีพฤติกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มักปรากฏพฤติกรรมทั้ง 2 รูปแบบรวมกัน โดยพฤติกรรมเหล่านั้นจะเป็นอุปสรรคที่ส่งผลให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน การเรียน การเข้าสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

อาการสมาธิสั้นในห้องเรียน


เด็กสมาธิสั้น หรือเด็กไฮเปอร์ 

(ADHD: Attention Deficit Hyperactivity Disorder) 


          อาจทำให้คุณแม่หลายๆ คนเป็นกังวลไม่น้อยจริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเขาได้จากหลายๆ วิธี เด็กสมาธิสั้น จะสังเกตเห็นชัดที่สุดตอนอายุ 4-5 ปี ซึ่งก่อนอายุประมาณ 4 ปี เขาอาจจะเป็นเด็กที่ซนมาก เพราะสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ และจะทำงานเต็มที่เมื่ออายุ 4-5 ปีไปแล้ว
  • 1 ใน 3 ของเด็กสมาธิสั้น เมื่อโตขึ้นเขาจะค่อยๆ หายได้เอง
  • 1 ใน 3 ของเด็กสมาธิสั้น จะมีอาการดีขึ้น ด้วยการปรับพฤติกรรม และรักษาด้วยยาที่ดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด
       หากคุณแม่เป็นกังวลมาก และรู้สึกว่าลูกสมาธิสั้นผิดปกติ เพราะซน อยู่เฉยไม่ได้ ทำอะไรได้สักพักก็เลิกทำ หุนหัน ไม่อดทน หงุดหงิดง่ายและเจ้าอารมณ์     ลองปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกของการรักษาร่วมกัน ซึ่งหลายๆ คนอาจจะได้วิตามินบำรุงสมองเพิ่มสมาธิ    ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เพราะการที่เด็กสมาธิสั้นนั้นเกิดจากสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


      เด็กสมาธิสั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว บ่อยครั้งที่ลูกมักจะซุกซน อยู่เฉยๆ ไม่ค่อยได้เพราะรู้สึกว่าสนใจสิ่งรอบข้างมากกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ คุณพ่อ คุณแม่อาจลองเปลี่ยนบรรยากาศรอบด้าน เช่นในห้องนอน ควรมีบรรยากาศที่เงียบ สงบขึ้น และจัดเก็บข้าวของให้เป็นระเบียบ เวลาที่ลูกนั่งทำการบ้านจะได้ไม่มีสิ่งอื่นมาทำให้เบี่ยงเบนความสนใจ

โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า

      โดยปกติโรคสมาธิสั้น    จะมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ซนมาก สมาธิสั้น และหุนหันพลันแล่น แต่ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกสามอย่างนี้   อาจจะมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจมีครบทุกอย่างเลยก็ได้ โดยอาการเหล่านี้จะต้องเกิดก่อนอายุ 12 ปี
  • ซนมาก – เด็กจะวิ่งเล่นในแต่ละวันแบบไม่หยุด ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มักชอบเล่นอะไรที่เสี่ยงๆ แผลงๆ เล่นแรง ไม่กลัวเจ็บ ยุกยิก อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องขยับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเสมอ นั่งนิ่งๆ ไม่ได้ ต้องผุดลุกผุดนั่ง ทำท่าจะลุกตลอดเวลา เมื่อเข้าโรงเรียนคุณครูมักจะบอกว่าเด็กไม่ยอมเรียน ลุกตลอดเวลา เดินวนในห้อง ในบางรายอาจลงไปนอนกลางห้อง เด็กมักเล่นกับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้เพราะเล่นแรงมาก ทำให้ไม่มีใครเล่นด้วย
  • สมาธิสั้น – อาจสังเกตได้จากเมื่อไปโรงเรียนคุณครูจะบอกว่าเหม่อ เรียกชื่อแล้วไม่หัน พูดสั่งให้ทำแล้วไม่ทำตาม ฟังคำสั่งได้ไม่ครบ เนื่องจากเด็กจะฟังประโยคยาวๆ ได้ไม่จบ เพราะใจไม่ได้อยู่กับคนพูด จะจับได้แค่ประโยคแรกๆ ทำให้เรียนได้ไม่ดี ไม่สามารถรับความรู้ใหม่ๆ ได้เต็มที่ ทำงานผิดพลาดบ่อย ทำการบ้านไม่เสร็จ ทำงานตามสั่งไม่ครบ ทำของหายบ่อยๆ เพราะจำไม่ได้ว่าวางไว้ที่ไหน
  • หุนหันพลันแล่น – เด็กจะไม่รู้จักการรอคอย ต้องตอบโต้ทันที สังเกตได้จากเด็กจะชอบพูดสวน ชอบโพล่งขึ้นมากลางการสนทนา หรือชอบแซงคิว
          อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโดยปกติเด็กแต่ละวัยจะมีสมาธิไม่เท่ากันอยู่แล้ว เด็กเล็กจะมีสมาธิสั้นกว่าเด็กโต ในเด็กเล็กๆ ช่วงขวบปีแรกจะมีสมาธิไม่เกิน 2-3 นาที หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือในช่วง 1-2 ขวบประมาณ 3-5 นาที วัยอนุบาลประมาณ 5-15 นาที และช่วงประถมต้นได้นานถึง 15-30 นาทีขึ้นไป ดังนั้นจะนำเด็กเล็กมาเปรียบเทียบกับเด็กโตไม่ได้

          หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้น ควรปรึกษาแพทย์ เพราะโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องทำการรักษา หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การอยู่ร่วมกับเพื่อนที่โรงเรียน   และการเรียนของเด็กเอง    รวมถึงเมื่อเด็กโตขึ้น ความซับซ้อนทางอารมณ์ก็จะมีมากขึ้น เด็กอาจรู้สึกมีปมด้อยถ้าไม่มีเพื่อนเล่นด้วย นอกจากนี้ เด็กสมาธิสั้นยังมีแนวโน้มที่จะโตไปเป็นคนขี้โมโห หงุดหงิดง่าย อ่อนไหวต่อคำพูดของคนอื่น การรักษาจะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้ โดยทั่วไปการรักษาจะเริ่มจากการปรับพฤติกรรม มีการสร้างกรอบที่เหมาะสมให้กับเด็ก การย่อยงานโดยใช้คำสั่งที่สั้นและให้เด็กมีการทวนคำสั่งซ้ำ การจัดห้องเรียนและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น ให้เด็กนั่งเรียนแถวหน้าสุด ใกล้โต๊ะครู เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะมีการสื่อสารและประสานกับคุณพ่อคุณแม่และคุณครูที่โรงเรียนอย่างใกล้ชิด ในบางกรณีที่เป็นมากหรือมีโรคร่วมอาจต้องให้ยาในการรักษาร่วมด้วย

         แม้การรักษาจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรคสมาธิสั้นในเด็กดีขึ้นได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ยังเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูและช่วยปรับพฤติกรรมของลูก ซึ่งการดูแลเบื้องต้นง่ายๆ ที่สามารถทำได้เองที่บ้านทุกวัน เช่น
        งดเลี้ยงลูกด้วยอุปกรณ์เทคโนโลยี  หลีกเลี่ยงการให้ลูกอายุต่ำกว่า 2 ขวบ  ดูโทรทัศน์ เล่นคอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกม   ถ้าอายุมากกว่า  2  ขวบ ให้อนุญาตได้ไม่เกิน 1-2  ชั่วโมงสำหรับทุกจอ
        สร้างวินัยให้ลูก ให้กิน นอน เล่น เป็นเวลา ให้เด็กทราบว่าเวลาไหนควรทำอะไร เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักควบคุมตัวเอง
      สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นควรทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรค และใช้ข้อดีของโรคให้เป็นประโยชน์ เช่น เด็กไม่ชอบอยู่นิ่ง จะกระตือรือร้นอยากทำกิจกรรมต่างๆ อยู่แล้ว ก็พาไปเล่นกีฬานอกบ้าน อยู่โรงเรียนก็ให้ช่วยคุณครูลบกระดาน เดินไปหยิบของให้คุณครู ช่วยคุณครูถือของ เป็นต้น


สัญญาณเตือนรีบรักษา!

         หากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 - 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการสังเกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่
  • ผลการเรียนตกต่ำลง ถ้ามีอาการมากมักพบได้ตั้งแต่ในช่วงที่เด็กเรียน ป.1-ป.2และผลการเรียนจะยิ่งตกมากขึ้นในช่วง ป.4 แต่ในกรณีที่เด็กมีไอคิว (IQ - Intelligence Quotient) ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาสูง อาจไม่ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนมากเท่าไรนักและอาจเริ่มสังเกตเห็นอาการในช่วงมัธยม แต่ในเด็กที่เป็นทั้งโรคสมาธิสั้นและโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD - Learning Disorder) ควบคู่กัน จะส่งผลต่อผลการเรียนค่อนข้างมากคือ คะแนนคาบเส้นหรือหวุดหวิดเกือบสอบตก
  • คุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของเด็กชัดเจนมากขึ้น
  • เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากเล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป
  • เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม (ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก)

วิธีรักษาแก้โรคสมาธิสั้น

         ปัจจุบันวิธีรักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD - Attention Deficit Hyperactive Disorder) มี 4 วิธี ได้แก่
1.    ปรับพฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ซึ่งจะได้ผลดีมากในเด็กที่ยังเป็นไม่มากและยอมเต็มใจที่จะเข้ารับการฝึกเพื่อให้อยู่นิ่ง
2.    รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดยาที่เหมาะกับอาการและวัยของเด็ก เช่น Methylphenidate ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการรับประทานทานยานั้นให้ผลในการรักษาที่ดีได้ถึง 70 - 80% โดยประมาณ และเด็กจะมีอาการดีขึ้นหลังจากรับประทานยาไปแล้วภายใน 1 - 4 สัปดาห์
3.    เรียนแบบตัวต่อตัว เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมด้วยนั้นจะเรียนไม่ทันเพื่อน พ่อแม่ผู้ปกครองควรหาวิธีพัฒนาการเรียนของเด็กอย่างเหมาะสม

4.    ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่อง เพื่อทำความเข้าใจและขอคำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง การสื่อสารกันระหว่างแพทย์ ครู และผู้ปกครอง เพื่อลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กที่อาจเกิดขึ้นได้


ฝึกสมาธิสั้น

1. ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เด็กที่มีปัญหาของการได้ยิน หรือการมองเห็น
2. หาผู้สนับสนุนท่านคือ โรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คน ก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย
3. จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD
4. ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัวเด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คืออะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก

5. ระลึกเสมอว่าการมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุมตนเองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำ ช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไป กลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน
6. อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไปกับการเรียนเสมอ
7. ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง
8. ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆ ครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆ ครั้ง
9. พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอนเด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่
10. ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะหรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด
11. ให้ขอบเขตและข้อจำกัดโดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล
12. ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ
13. พยายามให้เด็กจัดตารางเวลาหลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน
14. พยายามลดการทดสอบย่อยๆ กับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ได้
15. ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎแล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง


การเลือกสารอาหารที่มีประโยชน์

มีผลต่อสมองอย่างมาก!!


แนะนำวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ