วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

10 คำถามโควิด-19

10 คำถามโควิด-19





10 คำถามที่ควรศึกษา!


1. โควิด-19 ทำลายปอดถาวรจริงไหม

2. สบู่ VS แอลกอฮอล์

3. ป่วยและหายเองเป็นไปได้ไหม

4. จุดจบโควิด-19

5. ที่ผ่านมารัฐบาลปิดข่าวไหม

6. โควิด-19 แพร่เชื้อผ่านทางใด

7. รักษาหายได้อย่างไร

8.ใช้ระยะเวลาเท่าใดกว่าจะหายป่วย

9. ไข้หวัดธรรมดา VS โควิด-19 อาการแตกต่างกันไหม

10. เชื้อไวรัสอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเท่าใด



ขอขอบคุณข้อมูล

THE STANDARD : STAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์

ัปเดตโควิด-19วันที่ 23 มี.ค. 63

ThaiPBS9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

#อัปเดต ยอดผู้ป่วยติดเชื้อ #COVID19 ทั่วโลกวันนี้ ▪️ ผู้ป่วยสะสม 336,000 คน ▪️ รักษาหายแล้ว 98,334 คน ▪️ เสียชีวิตรวม 14,641 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มี.ค. 63 เวลา 11.00 น. จาก Johns Hopkins University)


วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2563


อัพเดทสถานการณ์ ‘ไวรัสโควิด-19’

วันที่ 19 มีนาคม 2563


ยอดผู้ป่วยโควิด-19 ไทยและต่างประเทศ


       สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19  วันที่ 19 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 60 ราย กลุ่มสนามมวย-ผับ 43 ราย รายใหม่ 17 ราย  ยอดรวมสะสม 272 ราย อยู่ในโรงพยาบาล 229 ราย กลับบ้านแล้ว 42 ราย เสียชีวิต 1 ราย อาการหนัก 2 ราย และตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 18 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 8,157 ราย

     สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ 219,052 คน ขณะที่ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8,953 ราย โดยอิตาลี ยังเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่  และผู้เสียชีวิตรายใหม่ เพิ่มขึ้นมากสุด  ที่ 4,207 คน และ 475 ราย  ตามลำดับ

ไวรัสโคโรนา 10 ประเทศติดเชื้อสูงสุด



    นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า รัฐบาลจะปิดด่านชายแดนทางบกทั่วประเทศ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่  พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลมีความพร้อมในเรื่องการรักษาพยาบาล และการป้องกันเฝ้าระวัง  โดยเหลืออย่างเดียวคือ ความร่วมมือของประชาชน หากประชาชนหยุดการเดินทางให้มากที่สุด หยุดการออกจากบ้าน หยุดการรวมกันเป็นหมู่คณะให้มากที่สุด หากมาจากพื้นที่เสี่ยงให้กักตัวเอง 14 วัน ก็จะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้แน่นอน เพราะทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่
ขอบคุณข้อมูล www.thebangkokinsight 

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

อัปเดตข่าวดี วัคซีนป้องกันโควิด-19


ข่าวล่าสุด  โควิด-19


วันที่ 15 มีนาคม 2563 - 17:15 น.

ข่าวดีวัคซีนโควิด

สำเร็จแล้ว ! วัคซีนป้องกันโควิด-19 อิสราเอล เตรียมแถลงคืบหน้า


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2563 
หนังสือพิมพ์ฮาเรตซ์ของอิสราเอล 
อ้างแหล่งข่าวรายงานว่า 
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเพื่อการวิจัยทางชีววิทยา
 (ไอบีอาร์) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมอิสราเอล 

สามารถพัฒนาวัคซีน !!


สำหรับใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 


แล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว


          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2563 หนังสือพิมพ์ฮาเรตซ์ของอิสราเอล อ้างแหล่งข่าวรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเพื่อการวิจัยทางชีววิทยา (ไอบีอาร์) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมอิสราเอล สามารถพัฒนาวัคซีนสำหรับใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 แล้วเสร็จสมบูรณ์แล้ว
          ทั้งนี้แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อระบุว่า     ทีมนักวิจัยสามารถทำความเข้าใจต่อกลไกทางชีววิทยา และคุณภาพของไวรัสสายพันธุ์นี้ได้แล้ว ซึ่งสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการวินิจฉัยโรค และช่วยในการผลิตแอนติบอดี สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้ว นอกเหนือจากการนำไปใช้ในการผลิตวัคซีนเพื่อการป้องกันสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับเชื้ออีกด้วย โดยมีการเตรียมการแถลงความสำเร็จนี้ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
        อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า ตามกระบวนการพัฒนาวัคซีนนั้น วัคซีนที่พัฒนาขึ้นมานี้ยังจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนทดสอบ และทดลอง อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งอาจกินเวลาอีกนานหลายเดือน เริ่มจากการทดลองใช้ในสัตว์ ต่อด้วยการทดลองในคน เพื่อให้แน่ใจว่าตัววัคซีนไม่ก่อผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายใดๆ ก่อนที่จะได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัยเพียงพอต่อการใช้งานในคน
       ไอบีอาร์เป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ก่อตั้งเมื่อปี 1952 เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล และเพิ่งได้รับคำสั่งจากนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอลเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ให้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาวิจัยเชื้อโควิด-19 นี้ ต่อมาได้รับตัวอย่างเชื้อแช่แข็งที่ -80 องศา จากญี่ปุ่น, อิตาลี และอีกบางประเทศรวม 5 ครั้งด้วยกัน


ข้อมูลจากมติชนออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563


วันนี้ (15 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19(COVID-19) 

ว่า พบผู้ป่วย 'โควิด-19' เพิ่ม 32 ราย รอยืนยันอีก 51 ราย รักษาหายกลับบ้านได้เพิ่ม 2 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม 114 คน 


อับเดตล่าสุด



ไทยพบผู้ป่วย 'โควิด-19' พรวดเดียว 32 ราย!!
รวมติดเชื้อสะสม 114 คน

กรุงเทพธุรกิจ

กลุ่มที่ 1 เชื่อมโยงกับสนามมวย จำนวน 9 ราย
กลุ่มที่ 2 เชื่อมโยงกับสถานบันเทิง จำนวน 8 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเก่าที่เคยพบผู้ป่วยแล้ว 3 ราย และเป็นกลุ่มใหม่ 5 ราย
กลุ่มที่ 3 ทำงานสัมผัสกับกลุ่มนักท่องเที่ยว จำนวน 3 ราย เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง พนักงานร้านอาหาร และพนักงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ
กลุ่มที่ 4 ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ จำนวน 7 ราย มีทั้งคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ 5 ราย (ในจำนวนนี้มีข้าราชการกลับจากดูงานที่ประเทศสเปนหนึ่งราย โดยขณะนี้กำลังติดตามตรวจสอบผู้ร่วมเดินทาง) และชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย 2 ราย 
กลุ่มที่ 5 เป็นผู้สัมผัสเจ้าของร้านอาหารที่ติดเชื้อก่อนหน้านี้ จำนวน 2 ราย 
กลุ่มที่ 6 อยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนโรค จำนวน 3 ราย
และยังอยู่ระหว่างรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 51 ราย
รวมทั้งหมด พบผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งสิ้น 32 ราย และมีผู้ป่วยรอยืนยันอีก 51 รายซึ่งมีความสัมพันธ์กับทั้ง 6 กลุ่มนี้


ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (โคโรน่า) 

แนะนำสวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ กินอาหารปรุงสุก


กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ” 

ได้เผยแพร่ วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (โคโรน่า) ดังนี้

1. สวมหน้ากากอนามัย และไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ

2. ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู หรือต้นแขนด้านใน

3. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น

4. หลีกเลี่ยงการไปตลาดที่ขายซากสัตว์ป่าหรือที่มีชีวิต และการสัมผัสโดยไม่ใช้ถุงมือ

5. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เนื่องจากเชื้อก่อโรคทางระบบทางเดินหายใจสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ

6. รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน หรือปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์และไข่ให้สุกด้วยความร้อน

      ทั้งนี้ ภายใน 14 วัน หลังเดินทางกลับจากเมืองอู่ฮั่น หากมีไข้ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจ เหนื่อยหอบ ควรรีบพบแพทย์ทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางไปประเทศจีน


หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

วิธีบำรุงสมอง


วิธีบำรุงสมอง
ทานอาหารบำรุงสมอง
ทานให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
อาหารที่ดีมีประโยชน์ล้วนส่งผลดีต่อการทำงานของสมองด้วยกันทั้งนั้น 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ใช่ว่าเราควรจะทานอาหารที่มากเกินไป 
โดยควรเน้นทานอาหารที่ให้ไฟเบอร์สูง ให้พลังงานแต่เพียงพอดี 
ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงและควรให้โปรตีนอย่างเหมาะสมพร้อมกัน 
เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอก็จะทำให้การทำงานของสมอง
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เลิกพฤติกรรมกินตามใจปาก
การทานอาหารแบบตามใจปาก เห็นอะไรน่าทานก็คว้าเข้าปากหมด
ย่อมไม่เป็นผลดีหรอกค่ะ เพราะหากเราทานแบบไม่เลือก
หากทานอาหารที่ไร้ประโยชน์เข้าไปแล้ว คุณค่าทางโภชนาการก็ย่อมต่ำ
และ...ส่งผลให้การทำงานของสมองมีประสิทธิภาพแย่ลงตามไปด้วย

ดังนั้น แนะนำให้คุณหันมาควบคุมความอยากอาหารและควรเน้นทานผักผลไม้ 
ทานโปรตีนจากเนื้อปลาเป็นหลัก
และหมั่นดื่มน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
โดยดื่มให้ได้วันละ 8-10 แก้ว 
เพียงเท่านี้ก็นับว่าเป็นผลดีต่อระบบการทำงานของสมองแล้วค่ะ


https://adha-treatments.blogspot.com/p/blog-page_15.html


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563




#อับเดต #ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่2019 #ThaiPBS

สธ.แถลงสถานการณ์โควิด-19(8 มี.ค.63)





กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย



วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

โควิด-19 รักษาหาย


สธ. ยืนยันไทย ผู้ป่วยโควิด-19 รักษาหายเพิ่ม 2 ราย

ข่าวดีโควิด-19 หายเพิ่ม2 ราย

        สธ. ยืนยันไทยพบมีผู้ป่วยโควิด-19 รักษาหายเพิ่ม 2 ราย รวมผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 50 ราย รักษาในโรงพยาบาล 16 ราย กลับบ้านแล้ว 33 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส 80-90% อาการไม่รุนแรง

         วันนี้ (8 มี.ค.) นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ว่า สถานการณ์ ถึงวันที่ 8 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น. มีผู้ป่วยรักษาหาย 2 รายทำให้วันนี้มีผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 16 ราย กลับบ้านแล้ว 33 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 50 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่ยังอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 7 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 4,366 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 181 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 4,185 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 2,629 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,737 ราย
          สถานการณ์ทั่วโลกใน 96 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 8 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 106,195 ราย เสียชีวิต 3,600 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,696 ราย เสียชีวิต 3,097 ราย

       นายแพทย์ธนรักษ์ กล่าวเสริมว่า จากจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย แสดงให้เห็นว่าส่วนใหญ่มีโอกาสรักษาหายได้ ในจำนวน 33 คนมีคนที่ใช้ยาต้านไวรัสจริงๆ น้อยมาก แปลว่าโรคนี้หายได้เอง    โดยไม่ต้องรับยาต้านไวรัส    หากดูตัวเลขจากต่างประเทศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 80-90% หายได้เอง    ยืนยันว่าโรคนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัส แต่การที่ต้องรับผู้ป่วยทั้ง 50 คนเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยแพร่เชื้อ ให้อยู่ในห้องแยก โอกาสที่เขาแพร่โรคจะเป็นศูนย์ทันที ลดความเสี่ยงแพร่โรคในสังคม นี่คือจุดประสงค์ในการดูแลในโรงพยาบาลช่วงนี้
          สำหรับการแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้แจ้งว่าปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตหน้ากากอนามัยชนิด Surgical Mask ในประเทศ สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้วันละ 1.2 ล้านชิ้น/วัน โดยได้จัดสรรให้กับบุคลากรสาธารณสุขในสถานพยาบาล จำนวน 700,000 แสนชิ้น/วัน ให้กับ โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 400,000 ชิ้น/วัน โรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 30,000 ชิ้น/วัน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย/คณะทันตแพทย์/โรงพยาบาลและคลินิกเอกชน/ โรงพยาบาลสังกัด กทม. 270,000 ชิ้น/วัน



วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

ไวรัส โควิด-19

โรคภูมิแพ้


ประกาศด่วนราชกิจจานุเบกษาไวรัสโควิด-19 

เป็นโรคติดต่ออันตรายในไทยมีผลบังคับทันที

วิธีป้องกันไวรัสโควิด-19

ที่คนไทยต้องรู้





อยู่อย่างไร ปลอดภัยจาก COVIC-19

ภัยร้าย...ที่กำลังระบาดทั่วโลก!! 

โควิด - 19



วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก 

“ไวรัสโควิด 19(Covid-19)”

 หรือ “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 

             ที่กำลังระบาดหนักอยู่ขณะนี้ กลุ่มไวรัสโคโรน่านั้น ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 ทำให้เกิดไข้หวัดทั่วไป แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก ล่าสุดพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ต่างจากที่เคยเจอมาก่อน มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง ถึงรุนแรง และมีการแพร่กระจายเชื้อได้ ดังนั้นในวันนี้เราจะพาไป คำความเข้าใจและ วิธีป้องกันไวรัสโควิด 19 ให้มากยิ่งขึ้น 

ล่าสุดพบ “เชื้อไวรัสโควิด 19 หรือ ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019” ที่เมืองอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน โดยบริเวณที่พบผู้ป่วยมากที่สุดและคาดว่าน่าจะเป็นรังของโรค คือ ตลาดอาหารทะเลและสัตว์หายากในเมือง ซึ่งได้แพร่กระจายไปในหลายเมืองในประเทศจีนและหลายประเทศ เช่น ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น


          ซึ่งในประเทศไทยเอง ผู้ป่วยรายแรกที่พบนั้นเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี จากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะและเจ็บคอ สามวันก่อนเดินทางมาที่ประเทศไทย ต่อมาได้เดินทางมาพร้อมครอบครัวเพื่อท่องเที่ยว เมื่อเดินผ่านเครื่องตรวจจับความร้อนที่สนามบิน (thermo scan) จึงพบว่ามีไข้ และถูกส่งตัวไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลทันที อีกสองวันต่อมา ทางโรงพยาบาลสามารถแยกเชื้อโดยวิธีการทางโมเลกุลได้ว่าเป็นเชื้อ “ไวรัสโควิด 19” จึงรายงานไปที่องค์การอนามัยโลก และประเทศไทยได้ประกาศว่าเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศจีน ที่มีผู้ป่วย ไวรัสโควิด 19 ในเวลานี้ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ทำการยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด 19 อยู่ที่ระดับ “สูงมาก” หลังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีการลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง


 วิธีป้องกัน (Covid-19) มีดังนี้

เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้

·        เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
·        เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
·        ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
·        ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล อย่างน้อย 20 วินาที
·        งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ

·        เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
·        ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
·        ควรดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
·        หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน 14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม
·        สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

อัพเดท…ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับวิธีการล้างมือ เพื่อปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อโรค มีรายละเอียดดังนี้ :

วิธีป้องกันไวรัสโควิด-19

คําแนะนําเพิ่มเติม(ไวรัสโควิด - 19)

1.     ในช่วงเวลานี้ควรงดเข้าร่วมกิจกรรมทุกชนิด หรือลางานและไปพบแพทย์หากตนเองมีอาการป่วนของโรคระบบทางเดินหายใจทันที
2.     ก่อนไปทำงานหรือร่วมกิจกรรมนอกบ้านทุกชนิด ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยพร้อมกับแอลกอฮอล์แบบเจลให้ เพียงพอสำหรับตัวเองนอกจากนี้ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ควรการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน
3.     หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยตามเกณฑ์ ควรรีบติดต่อขอเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอน   และหากอาการป่วยเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินหายใจควรงดเข้าร่วมกิจกรรมและลางานทันที
4.     หากสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างมีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ผิดปกติ ควรแนะนำให้ผู้มีอาการรับการตรวจตามขั้นตอน หรือ
5.     ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการโรคในระบบทางเดิน หายใจที่ไม่ป้องกันตนเอง หรือกลุ่มที่พึงกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
6.     หากท่านไหนที่เพิ่งกลับจากกลุ่มประเทศเสี่ยงติดเชื้อสามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้ 

อัพเดท…!! รู้ทันไวรัส โควิด-19 กับคำถามที่หลายๆคนสงสัย

·        อุณหภูมิมีผลต่อการติดเชื้อหรือไม่  : ในเวลานี้ทางเหล่าแพทย์ในต่างประเทศยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสภาพอากาศ และอุณหภูมิมีผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) แต่ทางการเเพทย์และนักวิจัยบางคนระบุว่าไวรัสโควิด-19 นี้มีลักษณะคลาย ไวรัสเมอร์ส (Mers) ที่ตัวอายุไวรัสมีผลตามสภาพอากาศหากเข้าสู่ฤดูร้อนการแพร่เชื้อจะลดลงในที่สุด แต่ถึงยังไงก็ตามยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า ไวรัสโควิท-19 จะลดลงในฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้หรือไม่


ติดต่อ


·        เชื้อ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในสภาพแวดล้อม ได้นานกี่วัน : เมื่อเร็วๆนี้ทาง นพ.พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อธิบายข้อมูลถึงอายุ ไวรัสโควิด-19 ว่ามีอายุนานเท่าไรและหากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหนจะยิ่งทำให้เชื้ออายุยาวนานกว่าปกติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 
1. หากมีเชื้ออยู่บริเวณพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู จะมีอายุ 7-8 ชั่วโมง  
2. หากเชื้อมาในอากาศ ตั้งแต่ น้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะมีอายุ 5 นาที 
3. หากมีเชื้อบริเวณโต๊ะพื้นเรียบ จะมีอายุ 24-48 ชั่วโมง 
4. หากเชื้ออยู่ในน้ำ จะมีอายุ 4 วัน  
5.หากเชื้ออยู่ในตู้เย็นหรือสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อยู่ได้ 1 เดือน
·        อาการไข้แบบที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ต่างจากไข้หวัดทั่วไปอย่างไร : โดยสิ่งที่ทั้งสองโรคนี้มีเหมือนกันคือ อาการมีไข้ตัวร้อน มีอาการไอจาม แต่สิ่งที่สามารถแยกทั้งสองอาการนี้ได้ คือ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการ หายใจลำบาก อาการอ่อนเพลียไม่มีแรงและถ่ายเป็นของเหลว ส่วนอาการเป็นไข้ จะมีแค่ เจ็บคอและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น

·        หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 COVID-19 จะมีระยะเวลาฟักตัวนานแค่ไหน : จากข้อมูลของทาง องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้มีรายงานออกมาชี้แจงว่า ระยะเวลาฟักตัวของ ไวรัสโควิด-19 นี้โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 1-14 วัน แต่ล่าสุดทางการหูเป่ยของประเทศจีนมีการตรวจพบการติดเชื้อของคุณลุงอายุ 70 ปีรายหนึ่ง ที่จากรายงานไม่ได้แสดงอาการป่วยในช่วงระยะเวลา 14 วัน แต่กลับมาตรวจพบในวันที่ 27 จากรายงานนี้เท่ากับว่าเชื้อไวรัสอาจมีระยะฟักตัวนานถึง 27 วัน หรือเท่ากับว่าเกือบ 1 เท่าจากข้อมูลที่ทางองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลมา

·        ผู้เคยติดเชื้อเมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) มาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันหรือไม่และผู้ติดเชื้อจะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิมได้ไหม : คนที่เคยติดเชื้อไปแล้วจะสามารถกลับมาติดเชื้อได้อีก นั้นก็เพราะว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 มีความสามารถกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วต่อให้ผู้ที่เคยติดเชื้อหายขาดจนร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสขึ้นมาได้ แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะไม่กลับไปติดหรือต้านทานเชื้อไวรัสโควิด-19ที่กลายพันธุ์ได้ ดังนั้นไม่ควรนำตัวเองไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะดีที่สุด    สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน กลุ่นคนที่ติดเชื้อจะฟื้นฟูร่างกายกลับมาสมบูรณ์ได้ แต่ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีโรคอื่นๆและผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ดังนั้นอาจจะต้องมีการดูแลเพิ่มอีกประมาณ 1หรือ2สัปดาห์ ก็อาจจะมีโอกาสกลับมาแข็งแรงเป็นปกติ

·        หากไปสัมผัสสิ่งของที่ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เคยจับหรือสัมผัส จะทำให้ติดเชื้อได้จริงหรือ…?  :  มีความเป็นไปได้สูงว่าจะติดเพราะโดยปกติผู้ติดเชื้อหากไอหรือจามส่วนมากจะเอามือปิดปากทำให้เชื้อไปติดที่มือจากนั้นหากผู้ติดเชื้อไปสัมผัสสิ่งของ โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็น แก้ว เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ กระดาษ พลาสติก โดยเฉพาะลูกบิดประตู ห่วงราวจับบนรถไฟฟ้าและบันไดเลื่อนตามห้าง สิ่งของเหล่านี้จะกลายเป็นที่สะสมปนเปื้อนชั้นดีของเชื้อไวรัสเพราะเชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ระหว่าง 4-5 วัน แต่บางสายพันธุ์อยู่บนพื้นผิวที่อุณหภูมิห้องอาจนานสุด 9 วัน โดยมีข้อมูลจากรายงานของทาง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไกรฟ์วาล์ท ที่ระบุว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้จะมีอายุนานหากมันอยู่ใน อุณหภูมิที่ต่ำและความชื้นอากาศสูง

·        สินค้าที่สั่งซื้อจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือกำลังระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) มีโอกาสติดเชื้อมาด้วยหรือไม่…? : จากข้อสรุปด้านบน เชื้อไวรัสนี้มีชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆเป็นเวลานานและไม่นานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม บวกกับการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศกินเวลามากกว่า 4-5 วัน นอกจากนี้สินค้าที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือกำลังระบาดของเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จะมีการตรวจอย่างละเอียดก่อนส่งสิ่งของมาให้กับผู้รับ นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนเชื้อไวรัสอาจจะมีอายุที่ไม่ยาวนานกว่าประเทศที่มีอากาศเย็น ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยมาที่แพร่เชื้อได้

·        หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อได้ 100 %หรือไม่และควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยแค่ไหน :จากคำแนะนำของแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญควรเปลี่ยนหน้ากากทุกๆ 2-3 วัน เพราะจะทำให้ได้ประสิทธิภาพการป้องกันดีที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นหน้ากากอนามัยก็ช่วยได้แค่กันระดับหนึ่งเท่านั้น ต่อให้ท่านใส่หน้ากากอนามัยท่านก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้อยู่ดี โดยเฉพาะท่านที่ต้องผ่านหรือทำงานในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่านแออัด ดังนั้นเราจึงจะต้องดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย
·        วัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) จะสร้างเสร็จเมื่อไร : ในเวลานี้คงยังตอบไม่ได้เพราะทางการแพทย์ยังไม่มีที่ไหนระบุว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้หายขาดได้ 100% คงต้องให้เวลาและเอาใจช่วยกลุ่มแพทย์อีกสักระยะเพราะเชื้อไวรัสนี้ยังใหม่เพิ่งถูกค้นพบในเวลาไม่นาน ทางเราได้แต่หวังว่าจะมีข่าวดีในไม่ช้านี้