โรคภูมิแพ้
ประกาศด่วนราชกิจจานุเบกษาไวรัสโควิด-19
เป็นโรคติดต่ออันตรายในไทยมีผลบังคับทันที
วิธีป้องกันไวรัสโควิด-19
ที่คนไทยต้องรู้
โควิด
- 19
วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก
“ไวรัสโควิด 19(Covid-19)”
“ไวรัสโควิด 19(Covid-19)”
หรือ “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่
2019 ”
ที่กำลังระบาดหนักอยู่ขณะนี้
กลุ่มไวรัสโคโรน่านั้น ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 ทำให้เกิดไข้หวัดทั่วไป แต่ไม่ได้มีอาการรุนแรงมาก
ล่าสุดพบที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ต่างจากที่เคยเจอมาก่อน
มีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ปานกลาง ถึงรุนแรง และมีการแพร่กระจายเชื้อได้
ดังนั้นในวันนี้เราจะพาไป คำความเข้าใจและ วิธีป้องกันไวรัสโควิด
19 ให้มากยิ่งขึ้น
ซึ่งในประเทศไทยเอง
ผู้ป่วยรายแรกที่พบนั้นเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ 61 ปี
จากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีอาการไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะและเจ็บคอ
สามวันก่อนเดินทางมาที่ประเทศไทย ต่อมาได้เดินทางมาพร้อมครอบครัวเพื่อท่องเที่ยว
เมื่อเดินผ่านเครื่องตรวจจับความร้อนที่สนามบิน (thermo scan) จึงพบว่ามีไข้ และถูกส่งตัวไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลทันที อีกสองวันต่อมา
ทางโรงพยาบาลสามารถแยกเชื้อโดยวิธีการทางโมเลกุลได้ว่าเป็นเชื้อ “ไวรัสโควิด 19”
จึงรายงานไปที่องค์การอนามัยโลก
และประเทศไทยได้ประกาศว่าเป็นประเทศแรกนอกเหนือจากประเทศจีน ที่มีผู้ป่วย ไวรัสโควิด 19 ในเวลานี้ทางองค์การอนามัยโลก (WHO)
ได้ทำการยกระดับการเตือนภัยความเสี่ยงการระบาดไปทั่วโลกของเชื้อไวรัสโควิด
19 อยู่ที่ระดับ “สูงมาก”
หลังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและมีการลุกลามไปยังประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
วิธีป้องกัน (Covid-19) มีดังนี้
เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ดังนี้
·
เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ
จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
·
เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
·
ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด
และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
·
ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่
หรือแอลกอฮอล์เจล อย่างน้อย 20 วินาที
·
งดจับตา จมูก
ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
·
เลี่ยงการใกล้ชิด
สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
·
ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง
ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
·
ควรดูแลสุขภาพ
ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
·
หลังจากกลับจากต่างประเทศภายใน
14 วัน หากมีอาการป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
และแจ้งรายละเอียดว่าเราเคยไปต่างประเทศมาแม้ว่าประเทศนั้นจะไม่มีการติดเชื้อก็ตาม
·
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด
19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย
เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา
อัพเดท…ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับวิธีการล้างมือ
เพื่อปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อโรค มีรายละเอียดดังนี้ :
คําแนะนําเพิ่มเติม(ไวรัสโควิด - 19)
1.
ในช่วงเวลานี้ควรงดเข้าร่วมกิจกรรมทุกชนิด
หรือลางานและไปพบแพทย์หากตนเองมีอาการป่วนของโรคระบบทางเดินหายใจทันที
2.
ก่อนไปทำงานหรือร่วมกิจกรรมนอกบ้านทุกชนิด
ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัยพร้อมกับแอลกอฮอล์แบบเจลให้
เพียงพอสำหรับตัวเองนอกจากนี้ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
ควรการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน
3.
หากพบว่าตนเองมีอาการป่วยตามเกณฑ์
ควรรีบติดต่อขอเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอน และหากอาการป่วยเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินหายใจควรงดเข้าร่วมกิจกรรมและลางานทันที
4.
หากสังเกตเห็นเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้างมีอาการไข้
ไอ จาม มีน้ำมูก ผิดปกติ ควรแนะนำให้ผู้มีอาการรับการตรวจตามขั้นตอน หรือ
5.
ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้มีอาการป่วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการโรคในระบบทางเดิน หายใจที่ไม่ป้องกันตนเอง
หรือกลุ่มที่พึงกลับมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
6. หากท่านไหนที่เพิ่งกลับจากกลุ่มประเทศเสี่ยงติดเชื้อสามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้
6. หากท่านไหนที่เพิ่งกลับจากกลุ่มประเทศเสี่ยงติดเชื้อสามารถปฏิบัติตามแนวทางนี้ได้
อัพเดท…!! รู้ทันไวรัส โควิด-19 กับคำถามที่หลายๆคนสงสัย
·
อุณหภูมิมีผลต่อการติดเชื้อหรือไม่
: ในเวลานี้ทางเหล่าแพทย์ในต่างประเทศยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสภาพอากาศ
และอุณหภูมิมีผลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโควิด-19
(COVID-19) แต่ทางการเเพทย์และนักวิจัยบางคนระบุว่าไวรัสโควิด-19
นี้มีลักษณะคลาย ไวรัสเมอร์ส (Mers) ที่ตัวอายุไวรัสมีผลตามสภาพอากาศหากเข้าสู่ฤดูร้อนการแพร่เชื้อจะลดลงในที่สุด
แต่ถึงยังไงก็ตามยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า ไวรัสโควิท-19 จะลดลงในฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึงนี้หรือไม่
·
เชื้อ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) อยู่ในสภาพแวดล้อม
ได้นานกี่วัน : เมื่อเร็วๆนี้ทาง นพ.พิเชฐ บัญญัติ
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้อธิบายข้อมูลถึงอายุ ไวรัสโควิด-19 ว่ามีอายุนานเท่าไรและหากอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหนจะยิ่งทำให้เชื้ออายุยาวนานกว่าปกติ
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หากมีเชื้ออยู่บริเวณพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู จะมีอายุ 7-8 ชั่วโมง
2. หากเชื้อมาในอากาศ ตั้งแต่ น้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะมีอายุ 5 นาที
3. หากมีเชื้อบริเวณโต๊ะพื้นเรียบ จะมีอายุ 24-48 ชั่วโมง
4. หากเชื้ออยู่ในน้ำ จะมีอายุ 4 วัน
5.หากเชื้ออยู่ในตู้เย็นหรือสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อยู่ได้ 1 เดือน
1. หากมีเชื้ออยู่บริเวณพื้น โต๊ะ ลูกบิดประตู จะมีอายุ 7-8 ชั่วโมง
2. หากเชื้อมาในอากาศ ตั้งแต่ น้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา จะมีอายุ 5 นาที
3. หากมีเชื้อบริเวณโต๊ะพื้นเรียบ จะมีอายุ 24-48 ชั่วโมง
4. หากเชื้ออยู่ในน้ำ จะมีอายุ 4 วัน
5.หากเชื้ออยู่ในตู้เย็นหรือสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศาเซลเซียส อยู่ได้ 1 เดือน
·
อาการไข้แบบที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19
(COVID-19) ต่างจากไข้หวัดทั่วไปอย่างไร : โดยสิ่งที่ทั้งสองโรคนี้มีเหมือนกันคือ อาการมีไข้ตัวร้อน มีอาการไอจาม แต่สิ่งที่สามารถแยกทั้งสองอาการนี้ได้
คือ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการ
หายใจลำบาก อาการอ่อนเพลียไม่มีแรงและถ่ายเป็นของเหลว ส่วนอาการเป็นไข้ จะมีแค่
เจ็บคอและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น
·
หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19
COVID-19 จะมีระยะเวลาฟักตัวนานแค่ไหน : จากข้อมูลของทาง องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้มีรายงานออกมาชี้แจงว่า
ระยะเวลาฟักตัวของ ไวรัสโควิด-19 นี้โดยปกติจะอยู่ระหว่าง 1-14 วัน
แต่ล่าสุดทางการหูเป่ยของประเทศจีนมีการตรวจพบการติดเชื้อของคุณลุงอายุ 70 ปีรายหนึ่ง ที่จากรายงานไม่ได้แสดงอาการป่วยในช่วงระยะเวลา 14 วัน แต่กลับมาตรวจพบในวันที่ 27 จากรายงานนี้เท่ากับว่าเชื้อไวรัสอาจมีระยะฟักตัวนานถึง
27 วัน หรือเท่ากับว่าเกือบ 1 เท่าจากข้อมูลที่ทางองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลมา
·
ผู้เคยติดเชื้อเมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19
(COVID-19) มาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันหรือไม่และผู้ติดเชื้อจะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิมได้ไหม : คนที่เคยติดเชื้อไปแล้วจะสามารถกลับมาติดเชื้อได้อีก นั้นก็เพราะว่า
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีความสามารถกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วต่อให้ผู้ที่เคยติดเชื้อหายขาดจนร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสขึ้นมาได้
แต่ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะไม่กลับไปติดหรือต้านทานเชื้อไวรัสโควิด-19ที่กลายพันธุ์ได้ ดังนั้นไม่ควรนำตัวเองไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะดีที่สุด
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยรุ่นหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน
กลุ่นคนที่ติดเชื้อจะฟื้นฟูร่างกายกลับมาสมบูรณ์ได้ แต่ผู้สูงอายุ
กลุ่มผู้ที่มีโรคอื่นๆและผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อาจมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ดังนั้นอาจจะต้องมีการดูแลเพิ่มอีกประมาณ 1หรือ2สัปดาห์ ก็อาจจะมีโอกาสกลับมาแข็งแรงเป็นปกติ
·
หากไปสัมผัสสิ่งของที่ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19
(COVID-19) เคยจับหรือสัมผัส จะทำให้ติดเชื้อได้จริงหรือ…? : มีความเป็นไปได้สูงว่าจะติดเพราะโดยปกติผู้ติดเชื้อหากไอหรือจามส่วนมากจะเอามือปิดปากทำให้เชื้อไปติดที่มือจากนั้นหากผู้ติดเชื้อไปสัมผัสสิ่งของ
โดยเฉพาะสิ่งของที่เป็น แก้ว เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ กระดาษ พลาสติก
โดยเฉพาะลูกบิดประตู ห่วงราวจับบนรถไฟฟ้าและบันไดเลื่อนตามห้าง
สิ่งของเหล่านี้จะกลายเป็นที่สะสมปนเปื้อนชั้นดีของเชื้อไวรัสเพราะเชื้อไวรัสมีชีวิตอยู่ได้ระหว่าง
4-5 วัน แต่บางสายพันธุ์อยู่บนพื้นผิวที่อุณหภูมิห้องอาจนานสุด
9 วัน โดยมีข้อมูลจากรายงานของทาง
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยไกรฟ์วาล์ท ที่ระบุว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 นี้จะมีอายุนานหากมันอยู่ใน อุณหภูมิที่ต่ำและความชื้นอากาศสูง
·
สินค้าที่สั่งซื้อจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือกำลังระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
(COVID-19) มีโอกาสติดเชื้อมาด้วยหรือไม่…? : จากข้อสรุปด้านบน
เชื้อไวรัสนี้มีชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆเป็นเวลานานและไม่นานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
บวกกับการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศกินเวลามากกว่า 4-5 วัน
นอกจากนี้สินค้าที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือกำลังระบาดของเชื้อไวรัส
ส่วนใหญ่จะมีการตรวจอย่างละเอียดก่อนส่งสิ่งของมาให้กับผู้รับ
นอกจากนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนเชื้อไวรัสอาจจะมีอายุที่ไม่ยาวนานกว่าประเทศที่มีอากาศเย็น
ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยมาที่แพร่เชื้อได้
·
หน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อได้ 100 %หรือไม่และควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยบ่อยแค่ไหน :จากคำแนะนำของแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญควรเปลี่ยนหน้ากากทุกๆ 2-3 วัน
เพราะจะทำให้ได้ประสิทธิภาพการป้องกันดีที่สุด
แต่ถึงอย่างนั้นหน้ากากอนามัยก็ช่วยได้แค่กันระดับหนึ่งเท่านั้น
ต่อให้ท่านใส่หน้ากากอนามัยท่านก็มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้อยู่ดี
โดยเฉพาะท่านที่ต้องผ่านหรือทำงานในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่านแออัด
ดังนั้นเราจึงจะต้องดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย
·
วัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19
(COVID-19) จะสร้างเสร็จเมื่อไร : ในเวลานี้คงยังตอบไม่ได้เพราะทางการแพทย์ยังไม่มีที่ไหนระบุว่าสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19
ให้หายขาดได้ 100% คงต้องให้เวลาและเอาใจช่วยกลุ่มแพทย์อีกสักระยะเพราะเชื้อไวรัสนี้ยังใหม่เพิ่งถูกค้นพบในเวลาไม่นาน
ทางเราได้แต่หวังว่าจะมีข่าวดีในไม่ช้านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น